การเเสดงโนรา

การเเสดงโนรา
เป็นการเเสดงโนราประกอบในพิธีกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศิลปินเเห่งชาติ 2554

                                                  ศิลปินแห่งชาติ 2554

โครงการศิลปินแห่งชาติเริ่มตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรก เมื่อพ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 212 คน
              “ละมัย ศรีรักษา” ครูสอนมโนราห์ ครูภูมิปัญญาไทยภาคใต้รุ่นที่ 7 / คอลัมน์ ส่องฅนคุณภาพ
 ครูละมัย ศรีรักษา เป็นหนึ่งในครูมโนราห์ประจำศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทยภาคใต้รุ่นที่ 7 ด้านศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้านมโนราห์จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้ารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ
      
       ครูภูมิปัญญาไทย คือ บุคคลเจ้าของภูมิปัญญาหรือผู้นำภูมิปัญญาต่างๆ มาใช้ประโยชน์ จนเกิดผลสำเร็จ มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ เชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง สำหรับการสรรหาครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 7 ในปี 2554 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้เชิญครูภูมิปัญญาไทยรุ่นต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกสาขามาเป็นผู้สรรหาผู้ทรงภูมิปัญญา ใน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ โดยมีผู้สนใจส่งเอกสารเพื่อเข้ารับการคัดเลือกจากทั่วประเทศ จำนวน 477 คน และมีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นครูภูมิปัญญา ไทย รุ่นที่ 7 จำนวนทั้งสิ้น 96 คน
      
       ครูละมัย เดิมมีอาชีพทำสวนควบคู่ไปกับการแสดงมโนราห์ตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งได้มีโอกาสร่วมงานกับอาจารย์ ยก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงมโนราห์คนแรกของภาคใต้ ซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้น ครูละมัยจึงได้รับการชักชวนจากอาจารย์ยกให้เข้าทำงานเป็นครูสอนรำมโนราห์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จากนั้นได้ย้ายเข้าทำงานที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยทำหน้าที่สอนรำมโนราห์ แก่นักศึกษาและผู้สนใจ ตลอดจนบุตร หลาน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จวบจนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 12 ปี
      
       ที่ผ่านมา นอกจากการเป็นครูสอนรำมโนราห์ประจำศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ครูละมัยยังได้ทำหน้าที่เผยแพร่ศิลปะการรำมโนราห์ด้วยการสอนรำมโนราห์แก่เด็กๆ ในชุมชน โดยใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่ฝึกสอน
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000013002

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมข้าวและชาวนาไทย

    ผลประการหนึ่งที่เกิดจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา คือ ชาวไร่ ชาวนาเป็นจำนวนมากได้อพยพย้ายถิ่น ละทิ้งบ้านเรือน พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน ปู่ย่าตายาย วัวควายไร่นา ไปรับจ้างทำงานในโรงงาน ไปเป็นกรรมการก่อสร้าง ไปเสี่ยงโชคชะตาทำมาหากินอยู่ในเมือง ทั้งๆ ที่การเข้าไปอยู่ในเมืองนั้น พวกเขาตระหนักดีว่า นอกจากจะต้องอดทนต่อความยากลำบากใน

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

    ครูลำตัด"หวังเต๊ะ”ทรุดสารพัดโรครุมเร้า ภรรยาเฝ้าใกล้ชิด หวัง    อาการดีขึ้น

     เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) พร้อมด้วย นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)  เข้าเยี่ยมอาการป่วยของ นายหวังดี นิมา หรือ ครูหวังเต๊ะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ที่พักรักษาตัวด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สุขุมวิท ขณะเดียวกันบ้านอาศัยยังได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมด้วย
               เชียงใหม่-พิธีปฐมฤกษ์บูรณะวิหารวัดสวนดอก

      พระครูสาทธรรมสิทธิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แถลงว่า เนื่องจากพระวิหารหลวงของวัดสวนดอก ซึ่งเป็นพระวิหารหลวงหลังใหญ่สุดในภาคเหนือสร้างเมื่อปี 2474 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย ร่วมกับคณะสงฆ์และศรัทธา

             รมว.วัฒนธรรม รุดตรวจโบราณสถานอยุธยาจมน้ำพัง


เช้าวันนี้ (31 ม.ค) สำนักงานกรมศิลปากรที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำคนงานเร่งเข้าทำการซ่อมแซม ซากกำแพงโบราณสถานวัดมหาธาตุโบราณสถานสำคัญที่เป็นมรดกโลก ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ผ่านมา เกิดพังทลายยาวกว่า 10 เมตร

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วัดอรุณฯ ผวาดินทรุดหลังกำแพงโบราณ หวั่นพระปรางค์พัง กรมศิลป์รุดตรวจสอบ


วัดอรุณฯ ผวาดินทรุดหลังกำแพงโบราณ หวั่นพระปรางค์พัง กรมศิลป์รุดตรวจสอบ

           พระครูอรุณธรรมานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ ในฐานะประธานฝ่ายภูมิทัศน์และพิธีการ เปิดเผยว่า ช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ วัดอรุณฯ ได้จัดการป้องกันอย่างเต็มที่ จนทำให้วัดรอดจากน้ำท่วม แต่ขณะนี้วัดยังคงสูบน้ำออกอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด  2 วันที่ผ่านมา พบการทรุดตัวของพื้นลานหน้าพระปรางค์วัดอรุณ ความยาวประมาณ 2 เมตร มีความลึกประมาณ 1 ฟุต ห่างจากองค์พระปรางค์ไม่เกิน 10 เมตร แนวดังกล่าวอยู่บริเวณกำแพงริมแม่น้ำเดิมที่มีอายุมากกว่า