การเเสดงโนรา

การเเสดงโนรา
เป็นการเเสดงโนราประกอบในพิธีกรรม

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ เเละการเเต่งกาย

                                                           ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้    
  •    ภาคใต้มีด้วยกัน 14 จังหวัด ดังนี้
    1.ชุมพร 2.กระบี่ 3.นครศรีธรรมราช 4.นราธิวาส 5.ปัตตานี 6.พังงา 7.พัทลุง 8.ภูเก็ต 9.ระนอง 10.สตูล สงขลา 12.สุราษฎร์ธานี 13.ตรัง 14.ยะลา
       การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น

  • 1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลาแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
    2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือเย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
    3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี
    อาชีพในภาคใต้มีค่อนข้างหลากหลายไปใน

  • แต่ละจังหวัด แต่ที่สำคัญได้แก่ การทำสวน มีสวนยางพารา เป็พืชสำคัญที่สุด รองลงไปเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ซึ่งได้แก่เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง สวนปาล์น้ำมันไร่กาแฟ ส่วนการทำนาจะมีมากทางด้านชายฝั่งตะวันออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และบางส่วนของจังหวัดสงขลา นอกเหนือไปจาก การเกษตรกรรมทางภาคใต้มีการทำเหมืองแร่ กันในหลายจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นการขุดแร่ดีบุก การประมงมีการทำกันตลอดชายฝั่งทะเล และมีท่าเรือประมงที่ไป จับปลาห่างจากชายฝั่ง
    ภาษาใต้
    ภาษาถิ่นใต้ หรือ ภาษาใต้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาปักษ์ใต้ ได้แก่ ภาษาที่พูดกันในภาคใต้ของประเทศไทย เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สุราษฏร์ธานี เป็นต้นภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ภาษาถิ่นใต้สำเนียงสงขลาอาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลาโดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น