การเเสดงโนรา

การเเสดงโนรา
เป็นการเเสดงโนราประกอบในพิธีกรรม

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมข้าวและชาวนาไทย

    ผลประการหนึ่งที่เกิดจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา คือ ชาวไร่ ชาวนาเป็นจำนวนมากได้อพยพย้ายถิ่น ละทิ้งบ้านเรือน พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน ปู่ย่าตายาย วัวควายไร่นา ไปรับจ้างทำงานในโรงงาน ไปเป็นกรรมการก่อสร้าง ไปเสี่ยงโชคชะตาทำมาหากินอยู่ในเมือง ทั้งๆ ที่การเข้าไปอยู่ในเมืองนั้น พวกเขาตระหนักดีว่า นอกจากจะต้องอดทนต่อความยากลำบากใน
    การครองชีพ เช่น ถูกใช้แรงงานอย่างทาส ต้องทำงานท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ต้องเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่อาจจะทำให้เสียชีวิตหรือไม่ก็พิการไปตลอดชีวิตได้ ต้องอดทนกินอยู่หลับนอนในสภาพที่จำกัด อึดอัดคับแคบ ไม่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ แล้ว พวกเขายังต้องประสบกับความแตกแยกของครอบครัวอย่างร้ายแรงอีกด้วย สามีต้องทิ้งภรรยาและลูกให้อยู่บ้าน พ่อแม่ต้องทิ้งลูกให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ลูกต้องทิ้งพ่อแม่ที่แก่ชราให้เผชิญชะตากรรมตามลำพัง ต่างคนต่างแยกกันอยู่ด้วยความห่วงกังวล ด้วยจิตใจที่ต้องการทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับมนุษย์อื่นๆ เป็นลูกก็ต้องการเลี้ยงดูพ่อแม่ เป็นพ่อแม่ก็ต้องการอบรมสั่งสอนลูก แต่การแยกกันอยู่อย่างนี้ แต่ละคนมีแต่ความว้าเหว่ อ้างว้าง ว่างเปล่า เลื่อนลอย ขาดความอบอุ่น ครอบครัวไร้ความหมาย ชีวิตไร้ค่า เหมือนกับเป็นคนอกตัญญู เป็นคนไม่รับผิดชอบ ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม
    จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ในการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐที่ผ่านมานั้น ได้เกิดอะไรขึ้นแก่ชาวไร่ชาวนา จึงทำให้วิถีชีวิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนแปลงไปดังเหตุการณ์ที่นำมากล่าวไว้ข้างต้น
    หนังสือเล่มนี้ (ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่องราวเกี่ยวกับข้าว และการทำนาในโครงการศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติประเทศฝรั่งเศส) นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวแบบพื้นบ้าน กับวัฒนธรรมข้าวแบบสมัยใหม่ของหมู่บ้านหันและหมู่บ้านอัมพวัน จังหวัดขอนแก่นแล้ว จะให้คำตอบบางส่วนได้ว่า "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นขึ้นแก่ชาวไร่ชาวนาในประเทศไทย"
    ผู้เขียนขอขอบพระคุณ และขอขอบคุณชาวบ้านหันและบ้านอัมพวันทุกท่าน ที่ได้ให้ข้อมูลต่างๆ และให้ความอนุเคราะห์เรื่องต่างๆ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ขอขอบคุณคณะนักวิจัยในโครงการทุกท่าน ที่ได้ให้ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลเรื่องต่างๆ ขอขอบพระคุณรองศาตราจารย์ ดร.พินิจ รัตนกุล รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล และศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ที่ได้ให้แนวคิด แนวทาง และวิธีการศึกษาเรื่อง "วัฒนธรรมข้าว" มาตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งปัจจุบัน
    ขอขอบคุณสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เขียนได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และขอขอบคุณสำนักพิมพ์มติชนที่เห็นความสำคัญ และให้เกียรติจัดพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ออกเผยแพร่
    ผลดีใดๆ ที่พึงเกิดจากหนังสือนี้ ขอมอบเป็นความภูมิใจแด่ทุกท่านที่กล่าวนามมาแล้ว และผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งในการศึกษาและการจัดพิมพ์ และขอจงเป็นพลังบันดาลให้ชาวไร่ชาวนาได้พบกับวิถีชีวิตและครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่มีโอกาสได้เลี้ยงดูอบรมลูก ลูกมีโอกาสได้เลี้ยงดูตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ตามกฎเกณฑ์ของสังคม ที่มนุษย์พึงกระทำต่อกันเช่นที่เคยเป็นมาในสังคมชาวนาแต่อดีต และจอให้ลูกหลานชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสทางการศึกษา มีโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
    http://www.thaitopic.net/data/views.php?recordID=91

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น